ลอยกระทงกันไหม? มาดูไอเดียลอยกระทงรักษาประเพณีไทย แบบไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมกัน!

''ลอยกระทง'' เทศกาลประจำปีของประเทศไทย ประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพต่อพระแม่คงคา แม่น้ำที่เราใช้อุปโภคบริโภค เบื้องหลังประเพณีที่สวยงาม สิ่งที่เหลือทิ้งไว้จากงานลอยกระทงทุกปีก็คือ ''ขยะ'' จำนวนมหาศาลที่รอการกำจัด

D042B3A6B1CD4B77879A320C5BE8F693

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครเปิดเผยสถิติของการลอยกระทงในแต่ละปีว่า หลังเทศกาลลอยกระทงพบว่ามีปริมาณกระทง 800,000-900,000 ชิ้นต่อปี (ยกเว้นปี 2554 และ ปี 2559) และพบว่าการใช้กระทงที่ทำจากธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87- 94.7 กระทงโฟมมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 13 ลดลงเหลือร้อยละ 5.3

 ซึ่งในปี 2561 มีปริมาณทั้งสิ้น 841,327 ใบ แบ่งเป็นกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ 796,444 ใบ และกระทงโฟม 44,883 ใบ คิดเป็นกระทงจากวัสดุธรรมชาติร้อยละ 94.7 และกระทงโฟมร้อยละ 5.3 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ลอยกระทงจากวัสดุธรรมชาติแทนการใช้กระทงโฟม ชี้ให้เห็นว่าประชาชนและผู้ขายกระทง ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่จำนวนกระทงที่ถูกทิ้งไว้เพื่อรอกำจัดต่อไปก็ยังมีจำนวนมหาศาลอยู่

เรามาดูกันว่า กระทงแต่ละชนิดที่เราลอยไป เป็นภาระให้แม่น้ำรึเปล่านะ?

 กระทงที่ทำจากขนมปัง โคนไอศครีม ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน

กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน

กระทงที่ทำจากกระดาษ ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน

กระทงที่ทำจากโฟม มากกว่า 1,000 ปี

 
จะเห็นว่าแม้แต่วัสดุที่ย่อยสลายได้ก็ยังต้องใช้เวลานานและต้องดึงออกซิเจนจากน้ำ ทำให้มีผลต่อชีวิตสัตว์น้ำที่อาจทั้งกินเอาขยะเข้าไป หรือก็ต้องอาศัยอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่า และการจัดการเพื่อเก็บขยะตลอดทางไหลของกระแสน้ำก็ใช้ทรัพยากรมากและอาจมีการหลุดรอดของขยะไปสู่ทะเล และยังติดอยู่ตามแหล่งต่างๆที่กระแสน้ำพัดไป เช่น ทางระบายน้ำ บริเวณกอผักตบชวา ตลิ่งธรรมชาติหรือป่าโกงกางที่เป็นแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ ซึ่งอาจเก็บได้ไม่ทั่วถึง

265001

 6 ไอเดีย ลอยกระทง รักษาประเพณีไทย ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ลดขนาดกระทง
ลอยขนาดเล็กแทนขนาดใหญ่ ใช้วัสดุน้อยกว่า ขยะน้อยกว่า กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 
ลอยกระทงน้ำแข็ง
อีกหนึ่งไอเดียสร้างสรรค์ นอกจากจะได้กระทงที่สวยงาม ตกแต่งจากดอกไม้ได้หลากหลายแล้ว ยังกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละธรรมชาติน้อยที่สุดอีกด้วยนะ


เลือกกระทงให้เหมาะกับสถานที่
เช่น สถานที่ที่มีปลาเยอะ สามารถเลือกลอยกระทงขนมปัง ในขนาดที่มั่นใจว่าปลาจะกินได้หมด ไม่เหลือทิ้งไว้ให้เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม

 
เลือกกระทงที่ไม่ใช้วัสดุหลากหลายเกินไป
ลดภาระการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด เลี่ยงกระทงที่มีเข็มหมุด พลาสติก โฟม เพราะย่อยสลายยากและเป็นขยะในแหล่งน้ำได้

 
ลอยกระทง 1 กระทง 1 ครอบครัว
ช่วยกันลดปริมาณขยะ โดยลอยเพียง 1 กระทง ต่อ 1 ครอบครัว หรือ  1 คู่รัก หรือ ยกแก๊งมาลอยกระทงกันแก๊งละ 1 ใบก็พอแล้ว


ลอยกระทงออนไลน์

ไอเดียแหวก แปลก แต่ลองคิดดูว่า ลอยกระทงออนไลน์ นี่แหละ สร้างมลพิษในแหล่งน้ำน้อยที่สุด ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม แถมประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และการเดินทาง และยังได้รักษาประเพณีไทยด้วยนะ

 
ที่สำคัญที่สุด ควรลอยในแหล่งน้ำปิด ไม่ลอยในแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อไม่ให้วัสดุต่างๆ ของกระทง ลอยลงสู่ทะเล กระทบต่อระบบนิเวศ ลอยกระทงปีนี้มา ความร่วมมือ ร่วมใจ กันตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแม่น้ำและพระแม่คงคาอย่างแท้จริง 

 

สนับสนุนโดย